การศึกษาไทย อะไรก็ได้
เรื่องราวความสำเร็จ

การศึกษาไทย อะไรก็ได้ ?

การศึกษาไทย 4.0 ยังคงเป็นเพียงแค่วาทกรรมในการชูนโยบายเพื่อการพัฒนาการการศึกษาไทย ให้สามารถก้าวล้ำไปข้างหน้า เพื่อเท่าทันเทคโนโลยีและเป็นการพัฒนาการศึกษาไทยแบบยั่งยืน

การศึกษาไทยย่ำอยู่กับที่

ซึ่งตลอดระยะเวลาที่มาระบบการศึกษาไทยได้รับการกล่าวโจมตีและถกเถียงกันเป็นอย่างมากเกี่ยวกับการพัฒนาการศึกษาอย่างแท้จริง เพราะในช่วงระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 ถึง พ.ศ. 2565 ในปัจจุบันนี้ มีการเปลี่ยนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการมากถึง 18 คน ส่งผลให้เกือบทุกรัฐมนตรีมีการปรับเปลี่ยนนโยบายทางการศึกษา ทำให้การดำเนินงานหลายอย่างหยุดชะงักและขาดความต่อเนื่อง มีการพัฒนาที่ล่าช้า ไม่สอดคล้องกับการศึกษาโลก ที่หลายประเทศมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนให้เท่าทันเทคโนโลยีมากขึ้น

ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา

ด้วยระบบการแข่งขันและการวัดผลทำให้เกิดการเหลื่อมล้ำกันมากขึ้น โดยเฉพาะบรรดาเด็กนักเรียนในต่างจังหวัดและถิ่นทุรกันดาร ที่มักจะขาดโอกาสและการสนับสนุนที่ดีจากภาครัฐ เกิดการเปรียบเทียบในส่วนของโรงเรียนเอกชนหรือแม้แต่ระหว่างโรงเรียนรัฐด้วยกันที่มักจะมีแบ่งแยกห้องพิเศษ หรือหลาย ๆ ที่มักจะเรียกว่า Gifted, GATE, TEP, SMA และอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับสถาบันแต่ละแห่งที่ใช้เรียกกัน เกิดการแบ่งแยกด้วยตัวของเด็กเองหรือครู อาจารย์ที่อาจจะให้การเรียนการสอนที่แตกต่างกัน

การศึกษาในศตวรรษที่ 21

ในขณะที่เทรนการศึกษาโลกเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว เน้นให้เด็กคิดมากกว่าที่จะท่องจำ มีการวิเคราะห์และสามารถแก้ไขปัญหาด้วยตนเองได้ ตลอดจนพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะความรู้ที่สามารถนำมาใช้ได้ในชีวิตจริง เพราะปัจจุบันความรู้ที่มีไม่ได้จำกัดแค่ในห้องเรียนอีกต่อไป หรือการเรียนรู้บางสิ่งบางอย่างจะต้องรู้ลึก รู้จริงมากกว่าเพียงแค่ฉาบฉวยที่ไม่สามารถแข่งขันในเวทีการศึกษาโลกได้

ผู้ปกครองและครู มีส่วนสำคัญอย่างมาก

การที่เด็กจะได้รับการพัฒนาและเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ปกครองและครูมีส่วนสำคัญอย่างมาก เพราะต้องอยู่กับเด็กตลอดเวลา บ่อยครั้งที่พ่อแม่ละเลยที่จะเอาใจใส่ในการศึกษาของลูก เพราะมองว่าเป็นหน้าที่ของครูผู้สอน ซึ่งในช่วงการแพร่ระบาดของโควิดที่ผ่านมา ทำให้เห็นแล้วว่าเด็กนักเรียนในช่วงดังกล่าวที่เรียนออนไลน์ แล้วไม่มีพ่อแม่หรือผู้ปกครองคอยประกบ สอนเสริมและให้คำแนะนำ มากกว่า 50% อ่านหนังสือไม่ออกและเขียนหนังสือไม่ได้ แย่ไปกว่านั้นคือเด็กติดเกม ติดอ่าน 7m แทนเอาเวลามาเพิ่มความรู้

ภาษาอังกฤษ ยังเป็นอุปสรรคในการพัฒนาของเด็กไทย

ณ เวลานี้ คงไม่มีใครกล้าปฏิเสธได้ว่า ภาษาอังกฤษ ยังเป็นอุปสรรคในการพัฒนาของเด็กไทยอีกเป็นจำนวนมาก นั่นเพราะบุคลากรในด้านภาษาอังกฤษไม่เพียงพอและที่สำคัญแนวทางในการเรียนยังมุ่งเน้นไปที่การเรียนไวยากรณ์ (Grammar) มากกว่าการสนทนาในชีวิตประจำวัน อีกทั้งยังขาดความต่อเนื่องในการใช้ภาษาอังกฤษ ทำให้ขาดทักษะในการพูด อ่านและเขียน จึงมีเด็กไทยจำนวนมากมีพัฒนาการทางภาษาอังกฤษอยู่ในระดับต่ำ

จากปัญหาที่กล่าวมาข้างต้นหากการศึกษาไทยยังเป็นเพียงแค่วาทกรรมและขาดการปฏิบัติอย่างจริงจัง ไม่มีการปฏิรูประบบอย่างเป็นรูปธรรม ต่อให้กี่รัฐมนตรีก็เหมือนเดิม คงย่ำอยู่กับที่หรือมีการพัฒนาที่ล่าช้า หากต้องการจะให้ประเทศชาติพัฒนาไปมากกว่านี้ เห็นทีจะต้องทำการผ่าตัดระบบการศึกษาใหม่อย่างจริงจังและเพิ่มขวัญและกำลังใจให้กับครู อาจารย์ การเลื่อนวิทยฐานะอย่างเป็นธรรม